โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ
โรคฝีดาษวานร (Monkey pox)
โรคฝีดาษวานร (Monkeypox) version 7 (2 ส.ค. 65)

การเฝ้าระวัง monkeypox ของ สธ.ไทย 26102022 | |
File Size: | 870 kb |
File Type: |
องค์ความรู้ทางระบาดวิทยาภาคสนาม
การเปลี่ยนผ่านจาก Epidemic (โรคระบาด) สู่ Endemic (โรคประจำถิ่น)
ควรพิจารณาตามองค์ประกอบสามเส้าทางระบาดวิทยาดังนี้
1) Susceptible host (ผู้ที่มีภูมิไวรับต่อโควิด)
1.1) ต้องมีภูมิคุ้มกันเพียงพอ ซึ่งมาจากการฉีดวัคซีนได้จำนวนมากกว่า 90% (แปรผันตาม R0) และหรือ การติดเชื้อในประชากรของเรา ระดับภูมิคุ้มกันต้องมีมากพอที่จะไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง หรือลดโอกาสติดเชื้อซ้ำ หรือลดโอกาสการแพร่เชื้อได้มากๆ หรือ ลดโอกาสที่เชื้อจะอยู่ในร่างกายได้นาน และร้อยละของคนมีภูมิต้องมากพอที่จะลดโอกาสการระบาดแล้วมีอาการรุนแรง (ไม่ใช่ป้องกันการระบาด เพราะป้องกันไม่ได้กับวัคซีนที่ไม่ได้ป้องกันโรค) ดังนั้น ในขณะที่วัคซีนโควิด 19 ยังป้องกันการติดเชื้อไม่ได้ดีนัก แค่ลดความรุนแรง ต้องเร่งนำเข้าวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ เช่น วัคซีนแบบพ่น ประชาชนเข้าถึงง่าย มาใช้ร่วมด้วย
1.2) ต้องมีการประเมินระดับความร่วมมือในการดำเนินตามมาตรการหลักในการป้องกันการติดเชื้อด้วย (Universal prevention และ Covid-free setting) เพราะเป็นมาตรการหลักที่ตัดช่องทางการแพร่โรค หากไม่ได้รับความร่วมมือที่ดี >80% ของประชากร หรือ สถานบริการ ก็น่าจะเกิด epidemic ได้อีกเป็นครั้งคราว ใหญ่เล็กขึ้นกับลักษณะสถานบริการหรือกิจกรรมการรวมตัวกัน
1.3) ต้องมีการประเมินความเสี่ยงของประชากร โดยอาศัยข้อมูลทางระบาดวิทยาในพื้นที่ บริบททางสังคม วัฒนธรรมการดำเนินชีวิต หรือปัจจัยทางสังคมอื่นใดที่มาเอื้อให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค
2 SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรคโควิด) (คาดเดาได้ยาก และต้องเฝ้าดูการกลายพันธุ์)
2.1) ต้องพิจารณาถึงอัตราการแพร่โรค (R0 หรือ transmission rate) ถ้าแพร่โรคได้มาก แต่ไม่รุนแรง ไม่เพิ่มภาระทางด้านสาธารณสุข ก็น่าจะรับได้ หาก แต่ถ้าแพร่โรคได้น้อยคน แต่รุนแรงก็ยากจะรับไหว
2.2) ต้องพิจารณาอัตราป่วยตาย (case-fatality rate) รวมถึงกลุ่มอายุที่มีความเสี่ยงในการเสียชีวิต และการได้รับวัคซีนในการลดความรุนแรงของกลุ่มอายุเสี่ยงนั้นด้วย ถ้าคนแก่เยอะ ไม่ได้รับวัคซีนมากหลายคน ติดเชื้อมานอนโรงพยาบาลกันมาก ตายกันเยอะ ก็ไม่น่าจะเป็นโรคประจำถิ่นในพื้นที่นั้นแล้วในระดับพื้นที่ แต่ถ้าในภาพใหญ่ ต้องมีมาตรการเฉพาะพื้นที่ลงไปจัดการด้วย
2.3) ต้องดูอุบัติการณ์ (Incidence) เพราะบอกความเสี่ยงของของโรค การเกิดโรคในพื้นที่นั้นๆ หากมากกว่าปกติที่เคยเป็นในช่วงใดช่วงหนึ่งของปี ก็ให้พิจารณาถึง ฤดูกาล กิจกรรมทางสังคมร่วมด้วย
2.4) การกลายพันธุ์ของเชื้อ ซึ่งแน่นอนว่าต้องไม่กลายพันธุ์แล้วมีความรุนแรงในการก่อโรคมากขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จำต้องเฝ้าดูต่อไป หากมีการระบาดก็ให้ประกาศเป็นการระบาดเฉพาะสายพันธุ์นั้น ในแง่ของไวรัสวิทยา [ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา กรุณาชี้แนะไว้] อีกประการคือ การวิวัฒนาการของสายพันธุ์ต้องเป็นในลักษณะ Selection (Imbalance phylogenetic tree) จึงจะเป็น endemic (รูปที่ 1A และ รูปที่ 2) เพราะการกลายพันธุ์ของไวรัสเป็นไปในลักษณะกลายพันธุ์รุ่นสู่รุ่น ติดง่ายและเร็วขึ้น แต่ความรุนแรงลดลง แต่หากเป็น No selection (Balance phylogenetic tree) (รูปที่ 1B และ รูปที่ 3)จะเป็นวิวัฒนาการที่คาดเดาได้ยากในธรรมชาติของเชื้อ ซึ่งอาจจะรุนแรงก็ได้
2.5) การดำเนินโรคทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หากมีภาวะแทรกซ้อนที่ไม่คืนกลับ หรือ ทำให้ทุกข์ทรมานนาน ทั้งนี้อาจจะขึ้นกับสายพันธุ์ที่กลายไปด้วย ก็พิจารณาประกาศเป็นโรคระบาดเฉพาะสายพันธุ์นั้นๆ
3) Environment (สิ่งแวดล้อม)
3.1) ต้องมีการประเมินความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม บริบททางสังคม วัฒนธรรมการดำเนินชีวิต หรือปัจจัยทางสังคมอื่นใดที่มาเอื้อต่อการสัมผัสโรค แม้นว่าประชากรจะมีการป้องกันตัวเองดีแล้ว ก็อาจจะสัมผัสโรคได้อีก ซึ่งถ้าควบคุมได้ การจะให้เป็นโรคประจำถิ่นก็ง่ายมาก ซึ่งไทยเราพยายามสร้างวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตแบบใหม่คือ New normal อยู่แล้ว แต่ถ้าประชาชนไม่ร่วมมือ (ข้อ 1.3) ก็ต้องบังคับใช้กฎหมายควบคู่ด้วย
3.2) การบังคับใช้กฎหมายทั้งระดับบุคคลและสถานบริการ องค์กร ชุมชน ยังจำเป็นในช่วงเปลี่ยนผ่าน เพราะจะทำให้ข้อ 1) เป็นปัจจัยที่กำหนดจับวางได้ และ ข้อ 2) มีผลทางตรงกับประชากรที่มีความเสี่ยงไปทำให้เชื้อมันอยู่ในสังคมได้ลดลง (ผลทางอ้อมต่อเชื้อ) หากมีกฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับ ใดที่ช่วยลดการแพร่โรค
เมื่อโควิดเป็นโรคประจำถิ่นไปเสียแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น
1) ไวรัสยังคงอยู่กับเรา ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่อาจจะไม่ชุกชุมมากมายอย่างตอนระบาดเป็นวงกว้าง
2) ผู้ติดเชื้อจะยังคงมีอยู่ ในปริมาณที่ระบบสาธารณสุขสามารถรองรับได้
3) เมื่อทุกคนฉีดวัคซีนแล้ว การจัดการก็จะเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล อาจจะมีผู้ป่วยก็จะเกิดขึ้นมากในหน้าฝน หน้าหนาว และจำนวนผู้ป่วยลดลงในหน้าร้อน
4) การรักษาพยาบาล น่าจะเอาอยู่ ลดความรุนแรง ลดการเสียชีวิต ได้ดีเหมือนอย่างในไข้หวัดใหญ่
5) ประชาชนอาจจะต้องระวังตัวมากขึ้นในการเคร่งครัดในมาตรการ โดยเฉพาะในฤดูการที่มีการระบาด เน้น Distancing; Masking; Hand washing; (ATK) Testing และ Vaccine อาจจะฉีดกันทุกปีต่อจากนี้
6) รัฐอาจจะไม่บังคับหรือเข้มงวดมากกับการบังคับให้ WFH หรือ การคัดกรองไข้และอาการ หรือ การจัดกิจกรรมรวมตัวกัน รวมถึงการสวมหน้ากากในที่สาธารณะ หรือขณะใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ
7) ประชาชนจะชั่งใจได้เองว่า จะป้องกันตนเองระดับไหน จะปฏิบัติตนอย่างไร ตามมาตรการที่เคยเรียนรู้มาก่อนหน้าในช่วงระบาดหนัก เช่น ลดการไปร่วมกิจกรรมการรวมตัวกับคนหมู่มาก เป็นต้น
บทความโดย ดร.นพ.ภพกฤต ภพธรอังกูร แพทย์ระบาดวิทยา
1.1) ต้องมีภูมิคุ้มกันเพียงพอ ซึ่งมาจากการฉีดวัคซีนได้จำนวนมากกว่า 90% (แปรผันตาม R0) และหรือ การติดเชื้อในประชากรของเรา ระดับภูมิคุ้มกันต้องมีมากพอที่จะไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง หรือลดโอกาสติดเชื้อซ้ำ หรือลดโอกาสการแพร่เชื้อได้มากๆ หรือ ลดโอกาสที่เชื้อจะอยู่ในร่างกายได้นาน และร้อยละของคนมีภูมิต้องมากพอที่จะลดโอกาสการระบาดแล้วมีอาการรุนแรง (ไม่ใช่ป้องกันการระบาด เพราะป้องกันไม่ได้กับวัคซีนที่ไม่ได้ป้องกันโรค) ดังนั้น ในขณะที่วัคซีนโควิด 19 ยังป้องกันการติดเชื้อไม่ได้ดีนัก แค่ลดความรุนแรง ต้องเร่งนำเข้าวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ เช่น วัคซีนแบบพ่น ประชาชนเข้าถึงง่าย มาใช้ร่วมด้วย
1.2) ต้องมีการประเมินระดับความร่วมมือในการดำเนินตามมาตรการหลักในการป้องกันการติดเชื้อด้วย (Universal prevention และ Covid-free setting) เพราะเป็นมาตรการหลักที่ตัดช่องทางการแพร่โรค หากไม่ได้รับความร่วมมือที่ดี >80% ของประชากร หรือ สถานบริการ ก็น่าจะเกิด epidemic ได้อีกเป็นครั้งคราว ใหญ่เล็กขึ้นกับลักษณะสถานบริการหรือกิจกรรมการรวมตัวกัน
1.3) ต้องมีการประเมินความเสี่ยงของประชากร โดยอาศัยข้อมูลทางระบาดวิทยาในพื้นที่ บริบททางสังคม วัฒนธรรมการดำเนินชีวิต หรือปัจจัยทางสังคมอื่นใดที่มาเอื้อให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค
2 SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรคโควิด) (คาดเดาได้ยาก และต้องเฝ้าดูการกลายพันธุ์)
2.1) ต้องพิจารณาถึงอัตราการแพร่โรค (R0 หรือ transmission rate) ถ้าแพร่โรคได้มาก แต่ไม่รุนแรง ไม่เพิ่มภาระทางด้านสาธารณสุข ก็น่าจะรับได้ หาก แต่ถ้าแพร่โรคได้น้อยคน แต่รุนแรงก็ยากจะรับไหว
2.2) ต้องพิจารณาอัตราป่วยตาย (case-fatality rate) รวมถึงกลุ่มอายุที่มีความเสี่ยงในการเสียชีวิต และการได้รับวัคซีนในการลดความรุนแรงของกลุ่มอายุเสี่ยงนั้นด้วย ถ้าคนแก่เยอะ ไม่ได้รับวัคซีนมากหลายคน ติดเชื้อมานอนโรงพยาบาลกันมาก ตายกันเยอะ ก็ไม่น่าจะเป็นโรคประจำถิ่นในพื้นที่นั้นแล้วในระดับพื้นที่ แต่ถ้าในภาพใหญ่ ต้องมีมาตรการเฉพาะพื้นที่ลงไปจัดการด้วย
2.3) ต้องดูอุบัติการณ์ (Incidence) เพราะบอกความเสี่ยงของของโรค การเกิดโรคในพื้นที่นั้นๆ หากมากกว่าปกติที่เคยเป็นในช่วงใดช่วงหนึ่งของปี ก็ให้พิจารณาถึง ฤดูกาล กิจกรรมทางสังคมร่วมด้วย
2.4) การกลายพันธุ์ของเชื้อ ซึ่งแน่นอนว่าต้องไม่กลายพันธุ์แล้วมีความรุนแรงในการก่อโรคมากขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จำต้องเฝ้าดูต่อไป หากมีการระบาดก็ให้ประกาศเป็นการระบาดเฉพาะสายพันธุ์นั้น ในแง่ของไวรัสวิทยา [ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา กรุณาชี้แนะไว้] อีกประการคือ การวิวัฒนาการของสายพันธุ์ต้องเป็นในลักษณะ Selection (Imbalance phylogenetic tree) จึงจะเป็น endemic (รูปที่ 1A และ รูปที่ 2) เพราะการกลายพันธุ์ของไวรัสเป็นไปในลักษณะกลายพันธุ์รุ่นสู่รุ่น ติดง่ายและเร็วขึ้น แต่ความรุนแรงลดลง แต่หากเป็น No selection (Balance phylogenetic tree) (รูปที่ 1B และ รูปที่ 3)จะเป็นวิวัฒนาการที่คาดเดาได้ยากในธรรมชาติของเชื้อ ซึ่งอาจจะรุนแรงก็ได้
2.5) การดำเนินโรคทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หากมีภาวะแทรกซ้อนที่ไม่คืนกลับ หรือ ทำให้ทุกข์ทรมานนาน ทั้งนี้อาจจะขึ้นกับสายพันธุ์ที่กลายไปด้วย ก็พิจารณาประกาศเป็นโรคระบาดเฉพาะสายพันธุ์นั้นๆ
3) Environment (สิ่งแวดล้อม)
3.1) ต้องมีการประเมินความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม บริบททางสังคม วัฒนธรรมการดำเนินชีวิต หรือปัจจัยทางสังคมอื่นใดที่มาเอื้อต่อการสัมผัสโรค แม้นว่าประชากรจะมีการป้องกันตัวเองดีแล้ว ก็อาจจะสัมผัสโรคได้อีก ซึ่งถ้าควบคุมได้ การจะให้เป็นโรคประจำถิ่นก็ง่ายมาก ซึ่งไทยเราพยายามสร้างวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตแบบใหม่คือ New normal อยู่แล้ว แต่ถ้าประชาชนไม่ร่วมมือ (ข้อ 1.3) ก็ต้องบังคับใช้กฎหมายควบคู่ด้วย
3.2) การบังคับใช้กฎหมายทั้งระดับบุคคลและสถานบริการ องค์กร ชุมชน ยังจำเป็นในช่วงเปลี่ยนผ่าน เพราะจะทำให้ข้อ 1) เป็นปัจจัยที่กำหนดจับวางได้ และ ข้อ 2) มีผลทางตรงกับประชากรที่มีความเสี่ยงไปทำให้เชื้อมันอยู่ในสังคมได้ลดลง (ผลทางอ้อมต่อเชื้อ) หากมีกฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับ ใดที่ช่วยลดการแพร่โรค
เมื่อโควิดเป็นโรคประจำถิ่นไปเสียแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น
1) ไวรัสยังคงอยู่กับเรา ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่อาจจะไม่ชุกชุมมากมายอย่างตอนระบาดเป็นวงกว้าง
2) ผู้ติดเชื้อจะยังคงมีอยู่ ในปริมาณที่ระบบสาธารณสุขสามารถรองรับได้
3) เมื่อทุกคนฉีดวัคซีนแล้ว การจัดการก็จะเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล อาจจะมีผู้ป่วยก็จะเกิดขึ้นมากในหน้าฝน หน้าหนาว และจำนวนผู้ป่วยลดลงในหน้าร้อน
4) การรักษาพยาบาล น่าจะเอาอยู่ ลดความรุนแรง ลดการเสียชีวิต ได้ดีเหมือนอย่างในไข้หวัดใหญ่
5) ประชาชนอาจจะต้องระวังตัวมากขึ้นในการเคร่งครัดในมาตรการ โดยเฉพาะในฤดูการที่มีการระบาด เน้น Distancing; Masking; Hand washing; (ATK) Testing และ Vaccine อาจจะฉีดกันทุกปีต่อจากนี้
6) รัฐอาจจะไม่บังคับหรือเข้มงวดมากกับการบังคับให้ WFH หรือ การคัดกรองไข้และอาการ หรือ การจัดกิจกรรมรวมตัวกัน รวมถึงการสวมหน้ากากในที่สาธารณะ หรือขณะใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ
7) ประชาชนจะชั่งใจได้เองว่า จะป้องกันตนเองระดับไหน จะปฏิบัติตนอย่างไร ตามมาตรการที่เคยเรียนรู้มาก่อนหน้าในช่วงระบาดหนัก เช่น ลดการไปร่วมกิจกรรมการรวมตัวกับคนหมู่มาก เป็นต้น
บทความโดย ดร.นพ.ภพกฤต ภพธรอังกูร แพทย์ระบาดวิทยา
FE skill topics
1. Public health surveillance
|
2. Outbreak investigation
|
3. Epidemiological study
|
8. Data visualization
|
4. Surveillance evaluation
|
***เอกสารประกอบการสอนหลักสูตร CDCU ของ พ.อ.ดร.นพ.ภพกฤต ภพธรอังกูร***
- ทีมตระหนักรู้สถานการณ์และทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค
- หลักระบาดวิทยาโรคติดเชื้อและหลักการป้องกันโรค
- การเฝ้าระวังทางสาธารณสุข
- การสอบสวนทางระบาดวิทยา
- การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- การเขียนรายงานรายงานสอบสวนโรค และการฝึกปฏิบัติการเขียนรายงานสอบสวนโรคเบื้องต้น
-การนำเสนอข้อมูลทางระบาดวิทยา (อัพเดท ส.ค.66)
-บทความฟื้นวิชา กรณีอาหารเป็นพิษ
-มาตราฐาน SAT & JIT กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
- แนวทางการเขียนรายงานสอบสวนโรคฉบับสมบูรณ์สำหรับนักวิชาการสธ.
- หลักระบาดวิทยาโรคติดเชื้อและหลักการป้องกันโรค
- การเฝ้าระวังทางสาธารณสุข
- การสอบสวนทางระบาดวิทยา
- การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- การเขียนรายงานรายงานสอบสวนโรค และการฝึกปฏิบัติการเขียนรายงานสอบสวนโรคเบื้องต้น
-การนำเสนอข้อมูลทางระบาดวิทยา (อัพเดท ส.ค.66)
-บทความฟื้นวิชา กรณีอาหารเป็นพิษ
-มาตราฐาน SAT & JIT กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
- แนวทางการเขียนรายงานสอบสวนโรคฉบับสมบูรณ์สำหรับนักวิชาการสธ.