ระบาดวิทยาของ Exertional heat-related illness
จากวารสารทางการแพทย์ Epidemiology of Exertional Heat Illness in the Military: A Systematic Review of Observational Studies. Int. J. Environ. Res. Public Health 2020, 17, 7037. ผลการทบทวนวรรณกรรมจำนวน 41 การศึกษาพบว่า อุบัติการณ์การเกิดการเจ็บป่วยจากความร้อนจากการออกกำลังกาย อยู่ระหว่าง 0.2 - 10.5 per 1000 person-years และ ความชุกของการเจ็บป่วยจากความร้อนจากการออกกำลังกายอยู่ระหว่าง 0.3% - 9.3%
ทั้งนี้ ปัจจัยภายในที่สำคัญ (Intrinsic risk factors) ได้แก่ เพศ ระดับความฟิตของร่างกาย โรคอ้วน ประวัติความเจ็บป่วยจากความร้อนมาก่อน และแรงจูงใจ สำหรับปัจจัยภายนอก (extrinsic factors) ที่สำคัญคือ สิ่งแวดล้อมที่ร้อน และ หน่วยที่สังกัด |
ผลการเฝ้าระวังทางสุขภาพในกองทัพบกสหรัฐอเมริกา จากวารสาร Journal of Science and Medicine in Sport 24 (2021) 975–981 พบว่า
มีอุบัติการณ์โดยภาพรวม Exertional Heat exhaustion = 1.5 per 1000 person-years และ Exertional Heat Stroke (EHS) = 0.37 ต่อ 1000 person-years โดยมีอุบัติการณ์ในผู้ชาย 0.40 > ผู้หญิง 0.23 ต่อ 1000 person-years ทั้งนี้ พบว่า พลทหาร (อายุ ≤ 20 ปี) มีอัตราอุบัติการณ์ของ EHS > กำลังพลส่วนอื่นๆ เมื่อเปรียบเทีบกับเหล่าทัพอื่นพบว่า นาวิกโยธิน (0.72 ต่อ 1000 person-years) และ กองทัพบก (0.67 per 1000 person-years) มีอุบัติการณ์ มากกว่า กองทัพอากาศ (0.08 per 1000person-years) และกองทัพเรือ (0.04 per 1000 person-years) อย่างชัดเจน |
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยจากความร้อน

การเจ็บป่วยจากความร้อน v.11 18 ต.ค.67 | |
File Size: | 34089 kb |
File Type: |

ประกาศ พบ. การเจ็บป่วยจากความร้อน 30 เม.ย. 67 | |
File Size: | 2036 kb |
File Type: |

ตัวอย่างการเขียนรายงานสอบสวนเบื้องต้นโรคลมร้อนในทหารใหม่.docx | |
File Size: | 58 kb |
File Type: | docx |

แบบสอบสวนโรคลมร้อนทหารใหม่ | |
File Size: | 45 kb |
File Type: | docx |

แบบคัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากความร้อนจากการฝึก | |
File Size: | 23 kb |
File Type: | docx |
ผลของการออกกำลังกาย/ฝึกหนักในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมสูง
การติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในสิ่งแวดล้อม

Dry-Wet Bulb Thermometer/ Hygrometer เป็นเครื่องมือวัดความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ แบบเรียบง่าย
1. Dry Bulb Temperature หรือ อุณหภูมิกระเปาะแห้ง ทำหน้าที่วัดอุณหภูมิทั่วไป ไม่ได้อยู่ภายใต้ผลกระทบของความชื้นในอากาศ
2. Wet Blub Temperature หรือ อุณหภูมิกระเปาะเปียก ทำหน้าที่วัดอุณหภูมิเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ Wet Blub Temperature จะถูกหุ้มด้วยผ้าเปียก เมื่อมีอากาศผ่านตัววัดอุณหภูมิที่ถูกคลุมด้วยผ้าเปียกน้ำก็จะระเหยออกไปพร้อมกับความร้อน
ข้อดี
1) มีราคาประหยัด
2) ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
3) ความคลาดเคลื่อนน้อย
ข้อเสีย
1) ไม่สามารถบอกค่าได้อย่างละเอียดแม่นยำ
2) ต้องใช้การอ่านค่าด้วยตนเอง
3) ไม่เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรม หรืองานที่ต้องการความละเอียดแม่นยำ
ข้อพิจารณาสำหรับ กระเปาะเปียก หุ้มด้วยผ้าผูกโยงไปยังแท็งค์เก็บน้ำ ต้องให้น้ำซึมจนถึงผ้าก๊อซ
- ถ้าในอากาศ มีไอน้ำน้อย หรือ อากาศแห้ง น้ำที่ผ้าจะระเหยออกมามาก ทำให้อุณหภูมิของกระเปาะเปียกลดลง จึงอ่านค่าได้ต่ำกว่ากระเปาะแห้ง
- เมื่ออากาศ มีไอน้ำมาก หรือ มีความชื้นสูง อากาศโดยรอบจะไม่สามารถรับไอน้ำไว้ได้อีก น้ำที่ผ้าจึงไม่มีการระเหยหรือระเหยได้น้อยมาก ค่าที่อ่านได้จากกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้งทั้ง 2 จึงใกล้เคียงกัน
- กรณีที่พึ่งใส่น้ำในแทงค์เก็บน้ำ, มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งเครื่องวัดไว้ อย่างน้อย 30นาทีก่อนอ่านค่า หากใส่น้ำแล้วติดตั้งเครื่องวัด อ่านค่าทันที จะได้ค่าอุณหภูมิจากกระเปาะเปียกที่ไม่ถูกต้อง
- ผลต่างของอุณหภูมิกระเปาะแห้งกับ อุณหภูมิกระเปาะเปียก ก็คือ ค่าความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity หรือ RH)
- ถ้า #ผลต่างน้อย หมายความว่าในอากาศมีปริมาณน้ำหรือความชื้นน้อย
- ถ้าหากอุณหภูมิกระเปาะแห้ง กับ อุณหภูมิกระเปาะเปียก มีค่าเท่ากัน RH จะเท่ากับ 100% หมายความว่าในอากาศเต็มไปด้วยไอน้ำ จนไม่สามารถกักเก็บน้ำหรือไอน้ำได้อีก
1. Dry Bulb Temperature หรือ อุณหภูมิกระเปาะแห้ง ทำหน้าที่วัดอุณหภูมิทั่วไป ไม่ได้อยู่ภายใต้ผลกระทบของความชื้นในอากาศ
2. Wet Blub Temperature หรือ อุณหภูมิกระเปาะเปียก ทำหน้าที่วัดอุณหภูมิเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ Wet Blub Temperature จะถูกหุ้มด้วยผ้าเปียก เมื่อมีอากาศผ่านตัววัดอุณหภูมิที่ถูกคลุมด้วยผ้าเปียกน้ำก็จะระเหยออกไปพร้อมกับความร้อน
ข้อดี
1) มีราคาประหยัด
2) ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
3) ความคลาดเคลื่อนน้อย
ข้อเสีย
1) ไม่สามารถบอกค่าได้อย่างละเอียดแม่นยำ
2) ต้องใช้การอ่านค่าด้วยตนเอง
3) ไม่เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรม หรืองานที่ต้องการความละเอียดแม่นยำ
ข้อพิจารณาสำหรับ กระเปาะเปียก หุ้มด้วยผ้าผูกโยงไปยังแท็งค์เก็บน้ำ ต้องให้น้ำซึมจนถึงผ้าก๊อซ
- ถ้าในอากาศ มีไอน้ำน้อย หรือ อากาศแห้ง น้ำที่ผ้าจะระเหยออกมามาก ทำให้อุณหภูมิของกระเปาะเปียกลดลง จึงอ่านค่าได้ต่ำกว่ากระเปาะแห้ง
- เมื่ออากาศ มีไอน้ำมาก หรือ มีความชื้นสูง อากาศโดยรอบจะไม่สามารถรับไอน้ำไว้ได้อีก น้ำที่ผ้าจึงไม่มีการระเหยหรือระเหยได้น้อยมาก ค่าที่อ่านได้จากกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้งทั้ง 2 จึงใกล้เคียงกัน
- กรณีที่พึ่งใส่น้ำในแทงค์เก็บน้ำ, มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งเครื่องวัดไว้ อย่างน้อย 30นาทีก่อนอ่านค่า หากใส่น้ำแล้วติดตั้งเครื่องวัด อ่านค่าทันที จะได้ค่าอุณหภูมิจากกระเปาะเปียกที่ไม่ถูกต้อง
- ผลต่างของอุณหภูมิกระเปาะแห้งกับ อุณหภูมิกระเปาะเปียก ก็คือ ค่าความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity หรือ RH)
- ถ้า #ผลต่างน้อย หมายความว่าในอากาศมีปริมาณน้ำหรือความชื้นน้อย
- ถ้าหากอุณหภูมิกระเปาะแห้ง กับ อุณหภูมิกระเปาะเปียก มีค่าเท่ากัน RH จะเท่ากับ 100% หมายความว่าในอากาศเต็มไปด้วยไอน้ำ จนไม่สามารถกักเก็บน้ำหรือไอน้ำได้อีก
การปฏิบัติของหน่วยฝึก เมื่อดัชนีความร้อนมากกว่าเท่ากับ 41 หรือ อุณหภูมิที่วัดได้มากกว่าเท่ากับ 40 องศาเซลเซียส
ทำไม อ้วน จึงเสี่ยงต่อโรคลมร้อนมากกว่าคนน้ำหนักปกติ
การเดินทางไกลเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมร้อนอย่างไร และวิธีป้องกันทำอย่างไร