เอกสารสำคัญในงานสุขาภิบาล

พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 (ล่าสุด พ.ศ.2560) | |
File Size: | 272 kb |
File Type: |

คู่มือชุดทดสอบหาเชื้อโคลิฟอร์ม | |
File Size: | 1541 kb |
File Type: |
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|

คำแนะนำในการดูแลสุขภาพจากปัญหาจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 | |
File Size: | 626 kb |
File Type: |

การคำนวนร้อยละการเปลี่ยนแปลงสีปัสสาวะ.xlsx | |
File Size: | 14 kb |
File Type: | xlsx |

แบบประเมินการใช้กระเป๋าใส่น้ำของทหารกองประจำการ ทบ. v.2 | |
File Size: | 213 kb |
File Type: |
อาหารเป็นพิษ/โรคอุจจาระร่วง
รายงานผู้ป่วยพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบจำนวนการระบาดได้มากในช่วง
1) ฤดูร้อน
2) เทศกาลที่มีคนร่วมกิจกรรมกันจำนวนมาก
1) ฤดูร้อน
2) เทศกาลที่มีคนร่วมกิจกรรมกันจำนวนมาก
สถานการณ์โรคอุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565–22 กุมภาพันธ์ 2566 จากฐานข้อมูลระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ กรมควบคุมโรค พบว่า ในห้วงฤดูหนาวของไทย ต.ค. 65-ก.พ. 66 โรคอุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษพบมากสุดในเดือน ม.ค. 66 และมีรายงานพบในค่ายทหารในห้วงเดือน ม.ค.66
เชื้อก่อโรคในโรคอุจจาระร่วง ก.พ. 66- ก.พ. 67 ที่พบส่วนใหญ่เป็นทั้งเชื้อไวรัส ได้แก่ ไวรัสโนโร และแบคทีเรียชนิด E.coli ซึ่งมาจากการปนเปื้อนของอาหารหรือน้ำ ดังนั้น ประชาชนจึงควรรับประทานที่ปรุงสุกใหม่ หากเป็นอาหารค้างมือควรอุ่นอาหารให้ร้อน และดื่มน้ำสะอาดจากแหล่งที่เชื่อถือได้
สุขาภิบาลอาหาร (Food sanitation)

ประกาศ พบ. เรื่องการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันและอาหารเป็นพิษ ลง 14 ม.ค. 68 | |
File Size: | 4736 kb |
File Type: |

แนวทางเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 3 ม.ค. 68 | |
File Size: | 3187 kb |
File Type: |

แบบประเมินสุขาภิบาลอาหารและโรงเลี้ยง v.1 (2 มกราคม 68) | |
File Size: | 663 kb |
File Type: |

การเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกันและควบคุมโรคอุุจาระร่วงเฉียบพลันและอาหารเป็นพิษ2025 v.3 | |
File Size: | 15244 kb |
File Type: |
การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ
หมายเหตุ
* การเก็บตัวอย่างอุจจาระและอาเจียน: 3.1 เก็บตัวอย่างอุจจาระด้วยการทำ rectal swab ด้วย Cary Blair transport media เพื่อส่งตรวจหาเชื้อแบคทีเรียสาเหตุ หรือ ด้วย Universal transport media หรือ Viral transport media สีชมพูบานเย็น เพื่อส่งตรวจหาเชื้อไวรัสสาเหตุ 3.2 เก็บตัวอย่างอาเจียนใส่ถุงนมแม่ เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์หาเชื้อสาเหตุ **การเก็บตัวอย่างอาหารที่ปรุงเสร็จ ตัวอย่างน้ำดื่ม น้ำแข็ง น้ำใช้ 10.1 ตัวอย่างอาหาร (อย่างน้อย 1-2 ช้อนโต๊ะ) ใส่ถุงนมแม่ แยกแต่ละประเภทอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่รับประทานในวันที่เกิดเหตุทุกมื้อ 10.2 ให้สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารดิบ/วัตถุดิบ ที่ใช้ประกอบอาหารในมื้อที่สงสัย (กรณีไม่มีอาหารปรุงสุกให้เก็บแล้ว) อย่างน้อย 5 -10กรัม ใส่ถุงนมแม่ แยกแต่ละประเภทอาหารดิบ (อาหารแห้ง อาหารแปรรูป เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้) 10.3 ตัวอย่างน้ำดื่ม น้ำใช้ เก็บอย่างน้อยตัวอย่างละ 500 ซีซี จำนวน 5 จุดจ่ายน้ำ/แหล่งน้ำ ใส่ในขวดปราศจากเชื้อ 10.4 ตัวอย่างน้ำแข็ง ให้เก็บใส่ถุงนมแม่เต็มถุง เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์เชื้อสาเหตุ ทั้งนี้การตรวจแยกเชื้อไม่พบ ไม่ได้บอกว่าไม่มีการติดเชื้อ ถ้าอาหารนั้นถูกอุ่นเพราะสารพิษทนทานต่อความร้อนได้ดี |
มาตรการการตอบโต้การระบาด:
|
การป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร
1. ลดการปนเปื้อน
1.1 คัดเลือกวัตถุดิบที่ดีในการผลิต โดยการเลือกซื้อวัตถุดิบที่ดีในการผลิต
1.1.1 กรณีการเลือกซื้อผักและผลไม้
1.1.1.1 ไม่มีคราบดินหรือคราบขาวของสารพิษกำจัดศัตรูพืช
1.1.1.2 ซื้อผักสดที่มีรูพรุน เป็นรอยกัดแทะ
1.1.1.3 ซื้อผักสดอนามัยหรือผักกลางมื้อ
1.1.1.4 กินผักตามฤดูกาลและเลือกกินผักพื้นบ้าน
1.1.1.5 ไม่กินผักชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นประจำ
1.1.2 กรณีการเลือกเนื้อสัตว์
1.1.2.1 ให้เลือกซื้อจากโรงงานฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน สถานที่จำหน่ายสะอาด ผู้ขายสะอาด และไม่ควรซื้อเนื้อที่แล่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย วางทิ้งบนเขียงนานๆ
1.1.2.2 เนื้อหมู เนื้อวัว ต้องเลือกที่มีสีแดงตามธรรมชาติ ไม่ช้ำเลือด ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า ที่สำคัญจะต้องไม่มีเม็ดสาคูในเนื้อนั้น
1.1.2.3 เนื้อไก่ เนื้อเป็ด ต้องเลือกที่เนื้อแน่น สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ไม่มีสารทาสีตามตัว (ใต้ปีก ใต้ขา ลำคอ และส่วนบนของก้น) บริเวณปลายปีกต้องไม่มีสีคล้ำ
1.1.2.4 ปลา ต้องมีเหงือกสีแดง ไม่เขียวคล้ำ ไม่มีกลิ่นเหม็น ตาใสและไม่ช้ำเลือดหรือขุ่นเป็นสีเทา เนื้อต้องแน่น กดไม่เป็นรอยบุ๋มอยู่นาน
1.1.2.5 กุ้ง ต้องมีเนื้อแน่น ไม่มีกลิ่นเหม้นคล้ายกลิ่นแอมโมเนีย ครีบและหางต้องเป็นมัน สดใส และหัวกุ้งต้องติดแน่นไม่หลุดออก
1.1.2.6 หอย ต้องสด เนื้อหอยต้องมีสีธรรมชาติ ไม่ซีดจาง ไม่มีกลิ่นเหม็น ฝาหรือเปลือกควรปิดสนิท ไม่เปิดอ้า
1.1.3 กรณีการเลือกไข่
1.1.3.1 ไข่สดจะมีผิวนวลคล้ายแป้งเคลือบอยู่ที่เปลือก และเปลือกไข่ต้องไม่แตกร้าว เปลือกสะอาดไม่มีมูลสัตว์หรือคราบสกปรกติดมา ไข่สดจะมีหน้าหนักมากกว่าไข่เก่า (เปลือกไข่ไม่มีลักษณะเหมือนแป้งเคลือบ) และเมื่อเขย่าดูจะไม่คลอน
1.2 ล้างผัก ผลไม้ ให้สะอาด ซึ่งการล้างผักและผลไม้มี 3 วิธีดังนี้
1.2.1 ใช้ผงฟู หรือ เบกกิ้งโซดา หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต (มีประสิทธิภาพช่วยลดสารตกค้างได้ 90-95%) ครึ่งช้อนโต๊ะผสมน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา 10 ลิตร แช่นาน 15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด
1.2.2 น้ำส้มสายชู (มีประสิทธิภาพช่วยลดสารตกค้างได้ 60-84%) ใช้น้ำส้มสายชู 5% ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 4 ลิตรแช่น้ำ 15 นาทีแล้วล้างด้วยน้ำสะอาด
1.2.3 ล้างน้ำไหล (มีประสิทธิภาพช่วยลดสารตกค้างได้ 25-63%) แช่น้ำนาน 15 นาที จากนั้นเปิดน้ำไหลแรงพอประมาณ คลี่ใบผัก ผลไม้ ถูไปมาประมาณ 2 นาที
1.3 ตรวจสอบเครื่องมือ/อุปกรณ์อยู่เสมอ
1.4 ใช้ภาชนะที่สะอาด
1.5 มีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรคในบริเวณที่เตรียมและปรุงอาหาร
1.6 ปกปิดอาหาร
1.7 เจ้าหน้าที่สูทกรรมปฏิบัติงานถูกสุขลักษณะ
1.1 คัดเลือกวัตถุดิบที่ดีในการผลิต โดยการเลือกซื้อวัตถุดิบที่ดีในการผลิต
1.1.1 กรณีการเลือกซื้อผักและผลไม้
1.1.1.1 ไม่มีคราบดินหรือคราบขาวของสารพิษกำจัดศัตรูพืช
1.1.1.2 ซื้อผักสดที่มีรูพรุน เป็นรอยกัดแทะ
1.1.1.3 ซื้อผักสดอนามัยหรือผักกลางมื้อ
1.1.1.4 กินผักตามฤดูกาลและเลือกกินผักพื้นบ้าน
1.1.1.5 ไม่กินผักชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นประจำ
1.1.2 กรณีการเลือกเนื้อสัตว์
1.1.2.1 ให้เลือกซื้อจากโรงงานฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน สถานที่จำหน่ายสะอาด ผู้ขายสะอาด และไม่ควรซื้อเนื้อที่แล่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย วางทิ้งบนเขียงนานๆ
1.1.2.2 เนื้อหมู เนื้อวัว ต้องเลือกที่มีสีแดงตามธรรมชาติ ไม่ช้ำเลือด ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า ที่สำคัญจะต้องไม่มีเม็ดสาคูในเนื้อนั้น
1.1.2.3 เนื้อไก่ เนื้อเป็ด ต้องเลือกที่เนื้อแน่น สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ไม่มีสารทาสีตามตัว (ใต้ปีก ใต้ขา ลำคอ และส่วนบนของก้น) บริเวณปลายปีกต้องไม่มีสีคล้ำ
1.1.2.4 ปลา ต้องมีเหงือกสีแดง ไม่เขียวคล้ำ ไม่มีกลิ่นเหม็น ตาใสและไม่ช้ำเลือดหรือขุ่นเป็นสีเทา เนื้อต้องแน่น กดไม่เป็นรอยบุ๋มอยู่นาน
1.1.2.5 กุ้ง ต้องมีเนื้อแน่น ไม่มีกลิ่นเหม้นคล้ายกลิ่นแอมโมเนีย ครีบและหางต้องเป็นมัน สดใส และหัวกุ้งต้องติดแน่นไม่หลุดออก
1.1.2.6 หอย ต้องสด เนื้อหอยต้องมีสีธรรมชาติ ไม่ซีดจาง ไม่มีกลิ่นเหม็น ฝาหรือเปลือกควรปิดสนิท ไม่เปิดอ้า
1.1.3 กรณีการเลือกไข่
1.1.3.1 ไข่สดจะมีผิวนวลคล้ายแป้งเคลือบอยู่ที่เปลือก และเปลือกไข่ต้องไม่แตกร้าว เปลือกสะอาดไม่มีมูลสัตว์หรือคราบสกปรกติดมา ไข่สดจะมีหน้าหนักมากกว่าไข่เก่า (เปลือกไข่ไม่มีลักษณะเหมือนแป้งเคลือบ) และเมื่อเขย่าดูจะไม่คลอน
1.2 ล้างผัก ผลไม้ ให้สะอาด ซึ่งการล้างผักและผลไม้มี 3 วิธีดังนี้
1.2.1 ใช้ผงฟู หรือ เบกกิ้งโซดา หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต (มีประสิทธิภาพช่วยลดสารตกค้างได้ 90-95%) ครึ่งช้อนโต๊ะผสมน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา 10 ลิตร แช่นาน 15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด
1.2.2 น้ำส้มสายชู (มีประสิทธิภาพช่วยลดสารตกค้างได้ 60-84%) ใช้น้ำส้มสายชู 5% ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 4 ลิตรแช่น้ำ 15 นาทีแล้วล้างด้วยน้ำสะอาด
1.2.3 ล้างน้ำไหล (มีประสิทธิภาพช่วยลดสารตกค้างได้ 25-63%) แช่น้ำนาน 15 นาที จากนั้นเปิดน้ำไหลแรงพอประมาณ คลี่ใบผัก ผลไม้ ถูไปมาประมาณ 2 นาที
1.3 ตรวจสอบเครื่องมือ/อุปกรณ์อยู่เสมอ
1.4 ใช้ภาชนะที่สะอาด
1.5 มีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรคในบริเวณที่เตรียมและปรุงอาหาร
1.6 ปกปิดอาหาร
1.7 เจ้าหน้าที่สูทกรรมปฏิบัติงานถูกสุขลักษณะ
2. ลด ยับยั้บ ทำลายจุลชีพ โดยการควบคุมอุณหภูมิและเวลาช่วยลดยับยั้งทำลายจุลชีพได้
2.1 เก็บอาหารพร้อมบริโภคแบบร้อนที่อุณหภูมิ > 63°C เพราะแบคทีเรียไม่สามารถแต่งตัวหรือเพิ่มจำนวนได้
2.2 เก็บอาหารพร้อมบริโภคแบบเย็นที่อุณหภูมิ <5°C ส่งผลให้แบคทีเรียแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนได้ช้า
2.3 เก็บอาหารแช่เยือกแข็งที่อุณหภูมิ ≤ - 18°C ส่งผลให้แบคทีเรียหยุดแบ่งตัวและหยุดเพิ่มจำนวน
2.4 อุ่นอาหารพร้อมบริโภคให้ร้อนทั่วถึงและมีอุณหภูมิ > 74°C เพราะแบคทีเรียตาย
2.5 ไม่เก็บอาหารทุกชนิดในเขตอุณหภูมิ 5-63°C เพราะแบคทีเรียจะเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วทำให้อาหารเน่าเสียได้ง่าย ควรเสิร์ฟอาหารให้ถึงผู้รับประทานภายใน 2 ชั่วโมง เพราะหากนานกว่านี้อาจจะทำให้ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษได้
2.1 เก็บอาหารพร้อมบริโภคแบบร้อนที่อุณหภูมิ > 63°C เพราะแบคทีเรียไม่สามารถแต่งตัวหรือเพิ่มจำนวนได้
2.2 เก็บอาหารพร้อมบริโภคแบบเย็นที่อุณหภูมิ <5°C ส่งผลให้แบคทีเรียแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนได้ช้า
2.3 เก็บอาหารแช่เยือกแข็งที่อุณหภูมิ ≤ - 18°C ส่งผลให้แบคทีเรียหยุดแบ่งตัวและหยุดเพิ่มจำนวน
2.4 อุ่นอาหารพร้อมบริโภคให้ร้อนทั่วถึงและมีอุณหภูมิ > 74°C เพราะแบคทีเรียตาย
2.5 ไม่เก็บอาหารทุกชนิดในเขตอุณหภูมิ 5-63°C เพราะแบคทีเรียจะเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วทำให้อาหารเน่าเสียได้ง่าย ควรเสิร์ฟอาหารให้ถึงผู้รับประทานภายใน 2 ชั่วโมง เพราะหากนานกว่านี้อาจจะทำให้ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษได้
3. ป้องกัน ไม่ให้สกปรก
โดยยึดตามมาตรฐานอาหารที่เกี่ยวข้องกับงานสุขาภิบาลอาหาร ประกอบด้วย 5 ประการ ดังนี้
โดยยึดตามมาตรฐานอาหารที่เกี่ยวข้องกับงานสุขาภิบาลอาหาร ประกอบด้วย 5 ประการ ดังนี้
กรณีการใช้หม้อหุงข้าวสำหรับลวกช้อน-ส้อม
การลวกช้อน-ส้อมด้วยหม้อหุงข้าว
1. ต้องต้มน้ำให้มีอุณหภูมิ > 80-90°C เป็นเวลาอย่างน้อย 4 นาที 2. อีกทั้งการใช้หม้อหุงข้าวประเภทที่เคลือบผิวภาชนะ ด้วยเทฟลอน เซรามิกส์ นำมาต้มน้ำร้อนนั้น อาจเสี่ยงต่อสารโลหะหนักจำพวกตะกั่ว และโครเมียม และถ้าหากอุณหภูมิและเวลาไม่ได้ตามที่กำหนดข้างต้น หรือภาชนะมีไขมันและเศษอาหาร อาจทำให้เชื้อโรคบางกลุ่มมีการเจริญเติบโตได้ เช่น แบคทีเรีย Clostridium spp. ซึ่งเจริญได้ในอุณหภูมิ 45-85°C 3.อย่างไรก็ตาม มีรายงานทางวิชาการพบการปนเปื้อนจุลินทรีย์จากการฆ่าเชื้อโรคในภาชนะสัมผัสอาหารด้วยการลวกช้อน-ส้อม ว่า อุปกรณ์สัมผัสอาหาร (ช้อน/ส้อม ช้อนโต๊ะ ตะเกียบไม้/ตะเกียบพลาสติก) จากการใช้หม้อ (หุงข้าว) ต้มน้ำร้อน มีการปนเปื้อนจุลินทรีย์รวม ก่อนอุปกรณ์สัมผัสอาหารจุ่มด้วยน้ำร้อน 60.2% และหลังการจุ่มน้ำร้อน 38.5% นั่นหมายความว่า ทั้งก่อนและหลังการนำอุปกรณ์สัมผัสอาหารดังกล่าวจุ่มน้ำร้อน ก็พบการปนเปื้อนจุลินทรีย์รวมไม่ต่างกัน (p-value = 0.66 ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ) 4. เมื่อพิจารณาจำแนกตามชนิดของแบคทีเรียพบว่า หม้อต้มน้ำร้อนมีการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ก่อนนำอุปกรณ์สัมผัสอาหารจุ่มน้ำร้อน 48.9% และหลังการจุ่ม 28.1% ซึ่งไม่มีความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.69) สำหรับเชื้อ Staphylococcus aureus ก่อนการนำอุปกรณ์สัมผัสอาหารจุ่มด้วยน้ำร้อน พบปนเปื้อน 61.2% และหลังการจุ่ม 29.1% ซึ่งก่อนและหลังการนำอุปกรณ์สัมผัสอาหารจุ่มน้ำร้อนพบการปนเปื้อน Staphylococcus aureus ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.43) เช่นกัน |
5. ยิ่งไปกว่านั้น ในน้ำร้อนที่ใช้สำหรับจุ่มภาชนะสัมผัสอาหารจากหม้อหุงข้าวไฟฟ้า พบว่า มีการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำร้อนมากที่สุด 78.6% รวมถึงมีการปนเปื้อนตะกั่วที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 87.5% และ โครเมียม ที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 69.2% ดังนั้น กรมอนามัยจึงแนะนำในการฆ่าเชื้อจุลชีพบนอุปกรณ์สัมผัสอาหาร ๒ วิธีคือ 1) ใช้เครื่อง/ตู้ลวกช้อนสแตนเลสไฟฟ้า สามารถต้มให้น้ำร้อนในอุณหภูมิที่สามารถฆ่าจุลชีพได้ (80-90°C) ตลอดเวลา แต่ต้องแช่อุปกรณ์สัมผัสอาหารนานอย่างน้อย 4 นาที และต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆเพื่อลดการปนเปื้อน และ 2) เครื่องอบช้อนยูวี มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ 99.9% และประหยัดไฟฟ้ามากที่สุด

การปนเปื้อนจุลินทรีย์ในภาชนะสัมผัสอาหารหลังการจุ่มน้ำร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรค | |
File Size: | 220 kb |
File Type: |
การตรวจร่างกายของเจ้าหน้าที่สูทกรรม
จนท.สูทรรม ต้องตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการตรวจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านอาหาร ซึ่งแนวทางการตรวจสุขภาพของ จนท.สูทกรรม ถูกกำหนดโดย กรมอนามัย สธ. อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ดังนี้
1) ตรวจสุขภาพทั่วไปโดยแพทย์ กำหนดให้ดูโรคผิวหนัง ความดัน สายตา น้ำตาลในเลือด ไขมันเส้นเลือด
2) ตรวจเอ็กซเรย์ปอด (CXR) หรือ ตรวจเสมหะ (AFB) และ ตรวจคอ
3) ตรวจหาภูมิคุ้มกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด เอ (IgM-HAV)
4) ตรวจอุจจาระ หรือ rectal swab culture เพื่อตรวจหา Salmonella spp., Shigella spp, Vibrio cholerae, พยาธิต่างๆ เป็นต้น
1) ตรวจสุขภาพทั่วไปโดยแพทย์ กำหนดให้ดูโรคผิวหนัง ความดัน สายตา น้ำตาลในเลือด ไขมันเส้นเลือด
2) ตรวจเอ็กซเรย์ปอด (CXR) หรือ ตรวจเสมหะ (AFB) และ ตรวจคอ
3) ตรวจหาภูมิคุ้มกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด เอ (IgM-HAV)
4) ตรวจอุจจาระ หรือ rectal swab culture เพื่อตรวจหา Salmonella spp., Shigella spp, Vibrio cholerae, พยาธิต่างๆ เป็นต้น
1.การเฝ้าระวัง (อาหารเป็นพิษ) ทางกายภาพ

แบบประเมินสุขาภิบาลอาหารและโรงเลี้ยง v.1 (2 ม.ค. 68) | |
File Size: | 663 kb |
File Type: |
ตัวอย่างรายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
คู่มือ แนวทาง มาตรการด้านสุขาภิบาลอาหาร

คู่มือหลักการสุขาภิบาลอาหารของ กทม. | |
File Size: | 96723 kb |
File Type: |
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
หลักสูตรผู้สัมผัสอาหาร กรมอนามัย สธ.

หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร | |
File Size: | 4659 kb |
File Type: |

คู่มือวิชาการประกอบการอบรมหลักสูตรการอบรมผู้สัมผัสอาหาร | |
File Size: | 3361 kb |
File Type: |
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
Infographic สำคัญที่เกี่ยวข้อง
2.การเฝ้าระวัง(อาหารเป็นพิษ)ทางชีวภาพ

แบบสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ | |
File Size: | 317 kb |
File Type: |
1.ชุดตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำ (อ11)
2.ชุดตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรีย อ13 หรือ SI-2
|
ขั้นตอนการทดสอบชุดทดสอบโคลิฟอร์มขั้นต้น SI-2
1. จุ่มไม้พันสำลีลงในน้ำยา SI-2 บิดพอหมาด (ไม้พันสำลี 1 อัน/น้ำยา 1 ขวด/ภาชนะอุปกรณ์ 5 ชิ้น/ประเภทภาชนะ) 2. ป้ายไม้พันสำลีบนผิวภาชนะอุปกรณ์หรือมือที่จะตรวจหมุนซ้ำ ๆ 3. จุ่มไม้พันสำลีลงในชวดน้ำยา หมุนไปมาหลาย ๆ ครั้ง บิดพอหมาด นำไปป้ายภาชนะอุปกรณ์ชิ้นต่อไปจนครบ 5 ชิ้น 4. หักไม้สวอปโดยดึงไม้ให้พ้นปากขวดประมาณครึ่งหนึ่งแล้วหักไม้กับปากขวด ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 17-24ชั่วโมง ก่อนอ่านและรายงานผล การอ่านและรายงานผล
|
3.ชุดตรวจคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ (อ31)

เลือกน้ำดื่มอย่างไร "สะอาด ปลอดภัย"
🔹น้ำดื่มบรรจุขวดทุกชนิด : มีเครื่องหมายรองรับจาก อย. , ลักษณะภาชนะต้องสะอาด, ฝาขวดปิดผนึกสนิท , น้ำ ต้องใสสะอาด
🔹ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ : ตู้สะอาค จุดวางภาชนะและหัวจ่ายน้ำไม่มีตะไคร่น้ำ , น้ำดื่มสะอาดจะต้องไม่มีกลิ่น
🔹น้ำประปา : ควรดื่มน้ำประปาที่ผ่านการรับรองคุณภาพ จากกรมอนามัย
และตรวจสอบน้ำประปาดื่มได้ที่ สายด่วนการประปาส่วนภูมิภาค 1662
🔹น้ำฝน : ภาชนะเก็บน้ำฝน จะต้องสะอาดมีฝาปิด หากยังไม่มั่นใจ ควรนำน้ำมาต้มก่อนดื่ม
🔹น้ำบ่อตื้น บ่อบาดาล ก่อนนำน้ำมาใช้ดื่ม ควรให้ผ่าน การปรับปรุง โดย การตกตะกอน การกรอง และเติมคลอรีนฆ่าเชื้อโรค หรือต้มให้เดือด
⚠️หากไม่มั่นใจว่าน้ำอุปโภค-บริโภค สะอาดหรือไม่ ? สามารถใช้ชุดตรวจสอบทางภาคสนาม ของกรมอนามัย ติดต่อ 1478 สายด่วนกรมอนามัย
ท่านสามารถ ติดตามสาระความรู้สุขภาพ เพิ่มเติมได้ที่
👉https://multimedia.anamai.moph.go.th/
🔹น้ำดื่มบรรจุขวดทุกชนิด : มีเครื่องหมายรองรับจาก อย. , ลักษณะภาชนะต้องสะอาด, ฝาขวดปิดผนึกสนิท , น้ำ ต้องใสสะอาด
🔹ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ : ตู้สะอาค จุดวางภาชนะและหัวจ่ายน้ำไม่มีตะไคร่น้ำ , น้ำดื่มสะอาดจะต้องไม่มีกลิ่น
🔹น้ำประปา : ควรดื่มน้ำประปาที่ผ่านการรับรองคุณภาพ จากกรมอนามัย
และตรวจสอบน้ำประปาดื่มได้ที่ สายด่วนการประปาส่วนภูมิภาค 1662
🔹น้ำฝน : ภาชนะเก็บน้ำฝน จะต้องสะอาดมีฝาปิด หากยังไม่มั่นใจ ควรนำน้ำมาต้มก่อนดื่ม
🔹น้ำบ่อตื้น บ่อบาดาล ก่อนนำน้ำมาใช้ดื่ม ควรให้ผ่าน การปรับปรุง โดย การตกตะกอน การกรอง และเติมคลอรีนฆ่าเชื้อโรค หรือต้มให้เดือด
⚠️หากไม่มั่นใจว่าน้ำอุปโภค-บริโภค สะอาดหรือไม่ ? สามารถใช้ชุดตรวจสอบทางภาคสนาม ของกรมอนามัย ติดต่อ 1478 สายด่วนกรมอนามัย
ท่านสามารถ ติดตามสาระความรู้สุขภาพ เพิ่มเติมได้ที่
👉https://multimedia.anamai.moph.go.th/
2.การป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
การปฏิบัติตนเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่น PM 2.5 (ฝุ่นละอองขนาดเล็ก) อย่างหนาแน่น
1. เมื่อค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) รายชั่วโมง เกินเกณฑ์ที่กำหนดคือ
1.1) มากกว่าเท่ากับ 25.1 มคก./ลบ.ม. ให้กำลังพลและครอบครัว สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา สำหรับผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง (ผู้ที่มีโรคประจำตัว และหญิงตั้งครรภ์) ให้งดทํากิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับบุคคลทั่วไป ให้ลดและปรับเวลาทํากิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อลดโอกาสการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็ก
1.2) มากกว่าเท่ากับ 37.6 มคก./ลบ.ม. ให้งดทํากิจกรรมกลางแจ้งทั้งสิ้น ยกเว้นกำลังพลผู้ที่ต้อง
ทําหน้าที่บริการสาธารณะกลางแจ้ง เช่น ดูแลรักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวกในการจราจร เป็นต้น ต้องสวมหน้ากาก N95 ตลอดเวลา
1.3) มากกว่าเท่ากับ 75.1 มคก./ลบ.ม. ให้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ทำงาน หรือดำเนินชีวิตประจำวันในที่พัก อาจจะพิจารณาติดตั้งระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ งดกิจกรรมกลางแจ้งทุกประเภท ยกเว้น ผู้ที่มีภารกิจจำเป็น หรือ ผู้ที่ต้องทําหน้าที่บริการสาธารณะกลางแจ้ง ให้สวมหน้ากาก N95 ตลอดเวลา และจํากัดระยะเวลาปฏิบัติงานไม่ให้เกินครั้งละ 60 นาที
2. หากมีอาการระคายเคืองในโพรงจมูก แนะนำให้ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำทุกวัน
3. ให้แต่งกายมิดชิด เพื่อลดการสัมผัสฝุ่นทางผิวหนัง และอาบน้ำชำระล้างร่างกายทันที เมื่อกลับถึงที่พัก เพื่อลดอาการระคายเคืองผิวหนัง ผดผื่นคันที่อาจจะเกิดขึ้นได้
4. ให้ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ จะช่วยเร่งการขับฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ที่เล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือดออกไปทางไตในรูปของปัสสาวะได้มากขึ้น
5. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง (เช่น ออกกำลังกายภายในอาคาร) หรือกิจกรรมที่ต้องใช้แรงเยอะ (เช่น ใช้การเดินแทนวิ่ง) ในสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น PM 2.5 เพราะจะทำให้สูดลมหายใจเอาฝุ่นเข้าไประคายเคืองระบบทางเดินหายใจและเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตมากขึ้น
6. ให้พักอาศัยในบริเวณที่มีต้นไม้ใบเขียว การจัดหาต้นไม้ที่สามารถฟอกอากาศภายในครัวเรือน หรือการปลูกต้นไม้จะช่วยการดูดซับฝุ่นในอากาศได้เพิ่มมากขึ้น
7. เปิดพัดลมภายในที่พักให้อากาศหมุนเวียน รวมถึง การใช้เครื่องพอกอากาศในห้องที่พัก ที่ทำงาน และในรถยนต์ เพื่อลดความหนาแน่นของฝุ่น
1. เมื่อค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) รายชั่วโมง เกินเกณฑ์ที่กำหนดคือ
1.1) มากกว่าเท่ากับ 25.1 มคก./ลบ.ม. ให้กำลังพลและครอบครัว สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา สำหรับผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง (ผู้ที่มีโรคประจำตัว และหญิงตั้งครรภ์) ให้งดทํากิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับบุคคลทั่วไป ให้ลดและปรับเวลาทํากิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อลดโอกาสการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็ก
1.2) มากกว่าเท่ากับ 37.6 มคก./ลบ.ม. ให้งดทํากิจกรรมกลางแจ้งทั้งสิ้น ยกเว้นกำลังพลผู้ที่ต้อง
ทําหน้าที่บริการสาธารณะกลางแจ้ง เช่น ดูแลรักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวกในการจราจร เป็นต้น ต้องสวมหน้ากาก N95 ตลอดเวลา
1.3) มากกว่าเท่ากับ 75.1 มคก./ลบ.ม. ให้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ทำงาน หรือดำเนินชีวิตประจำวันในที่พัก อาจจะพิจารณาติดตั้งระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ งดกิจกรรมกลางแจ้งทุกประเภท ยกเว้น ผู้ที่มีภารกิจจำเป็น หรือ ผู้ที่ต้องทําหน้าที่บริการสาธารณะกลางแจ้ง ให้สวมหน้ากาก N95 ตลอดเวลา และจํากัดระยะเวลาปฏิบัติงานไม่ให้เกินครั้งละ 60 นาที
2. หากมีอาการระคายเคืองในโพรงจมูก แนะนำให้ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำทุกวัน
3. ให้แต่งกายมิดชิด เพื่อลดการสัมผัสฝุ่นทางผิวหนัง และอาบน้ำชำระล้างร่างกายทันที เมื่อกลับถึงที่พัก เพื่อลดอาการระคายเคืองผิวหนัง ผดผื่นคันที่อาจจะเกิดขึ้นได้
4. ให้ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ จะช่วยเร่งการขับฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ที่เล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือดออกไปทางไตในรูปของปัสสาวะได้มากขึ้น
5. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง (เช่น ออกกำลังกายภายในอาคาร) หรือกิจกรรมที่ต้องใช้แรงเยอะ (เช่น ใช้การเดินแทนวิ่ง) ในสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น PM 2.5 เพราะจะทำให้สูดลมหายใจเอาฝุ่นเข้าไประคายเคืองระบบทางเดินหายใจและเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตมากขึ้น
6. ให้พักอาศัยในบริเวณที่มีต้นไม้ใบเขียว การจัดหาต้นไม้ที่สามารถฟอกอากาศภายในครัวเรือน หรือการปลูกต้นไม้จะช่วยการดูดซับฝุ่นในอากาศได้เพิ่มมากขึ้น
7. เปิดพัดลมภายในที่พักให้อากาศหมุนเวียน รวมถึง การใช้เครื่องพอกอากาศในห้องที่พัก ที่ทำงาน และในรถยนต์ เพื่อลดความหนาแน่นของฝุ่น

PM2.5 กับ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
จากกลุ่มวิจัยจากฝรั่งเศสที่เพิ่งตีพิมพ์ออกมา ระบุว่า การรับฝุ่น PM2.5 เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจจะทำให้เราติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ง่ายขึ้นหรือไม่
1. ทีมวิจัยพบว่ากลุ่มที่บ่มกับ PM2.5 มีการแสดงออกของโปรตีนไวรัสมากกว่า และ มีการสร้างไซโตไคน์ชนิด Pro-inflammaory (IL-6) มากกว่า แต่ โปรตีนที่เซลล์ตอบสนองต่อการติดเชื้อไวรัส เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสกับน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ
2. อีกการทดลองคือ เมื่อนำฝุ่น PM2.5 กับ ไวรัสมาบ่มร่วมกันโดยติดไวรัสเข้าเซลล์ก่อน 1 ชั่วโมงแล้วตามด้วยฝุ่น พบว่า ฝุ่นกับไวรัสสามารถจับกันได้ที่ผิวเซลล์ แต่ฝุ่นไม่ได้ทำให้ไวรัสเพิ่มจำนวนได้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้บ่มร่วมกับฝุ่น
ที่น่าสนใจคือ เมื่อติดเชื้อร่วมกับฝุ่นแล้ว การสร้างอินเตอเฟียรอน หรือ สารที่เซลล์หลั่งออกมาต้านไวรัสลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
สรุปคือ PM2.5 อาจจะไม่ช่วยให้ไวรัสเพิ่มจำนวนได้ดีขึ้น แต่ PM2.5 ทำให้การตอบสนองต่อการติดเชื้อของเซลล์ผิดเพี้ยน ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อของไวรัสไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ส่งผลให้การติดเชื้ออาจจะรุนแรงมากกว่าสภาวะปกติ และ เนื่องจาก PM2.5 มุ่งเป้าไปที่การทำงานของเซลล์ไม่จำเพาะต่อไวรัส ดังนั้น การติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจชนิดอื่นๆ เช่น ไวรัสโรคโควิด-19 หรือ ไวรัส RSV, Adenovirus และ อื่นๆ ก็อาจจะรุนแรงกว่าปกติได้เช่นกัน
จากกลุ่มวิจัยจากฝรั่งเศสที่เพิ่งตีพิมพ์ออกมา ระบุว่า การรับฝุ่น PM2.5 เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจจะทำให้เราติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ง่ายขึ้นหรือไม่
1. ทีมวิจัยพบว่ากลุ่มที่บ่มกับ PM2.5 มีการแสดงออกของโปรตีนไวรัสมากกว่า และ มีการสร้างไซโตไคน์ชนิด Pro-inflammaory (IL-6) มากกว่า แต่ โปรตีนที่เซลล์ตอบสนองต่อการติดเชื้อไวรัส เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสกับน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ
2. อีกการทดลองคือ เมื่อนำฝุ่น PM2.5 กับ ไวรัสมาบ่มร่วมกันโดยติดไวรัสเข้าเซลล์ก่อน 1 ชั่วโมงแล้วตามด้วยฝุ่น พบว่า ฝุ่นกับไวรัสสามารถจับกันได้ที่ผิวเซลล์ แต่ฝุ่นไม่ได้ทำให้ไวรัสเพิ่มจำนวนได้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้บ่มร่วมกับฝุ่น
ที่น่าสนใจคือ เมื่อติดเชื้อร่วมกับฝุ่นแล้ว การสร้างอินเตอเฟียรอน หรือ สารที่เซลล์หลั่งออกมาต้านไวรัสลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
สรุปคือ PM2.5 อาจจะไม่ช่วยให้ไวรัสเพิ่มจำนวนได้ดีขึ้น แต่ PM2.5 ทำให้การตอบสนองต่อการติดเชื้อของเซลล์ผิดเพี้ยน ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อของไวรัสไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ส่งผลให้การติดเชื้ออาจจะรุนแรงมากกว่าสภาวะปกติ และ เนื่องจาก PM2.5 มุ่งเป้าไปที่การทำงานของเซลล์ไม่จำเพาะต่อไวรัส ดังนั้น การติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจชนิดอื่นๆ เช่น ไวรัสโรคโควิด-19 หรือ ไวรัส RSV, Adenovirus และ อื่นๆ ก็อาจจะรุนแรงกว่าปกติได้เช่นกัน
ผลกระทบของ PM2.5 ต่อระบบทางเดินหายใจมนุษย์
1. อนุมูลอิสระ โลหะหนัก (เหล็ก, ทองแดง, สังกะสี, แมงกานี) สารประกอบอินทรีย์ สารประกอบ polycyclic aromatic hydrocarbon ในฝุ่น PM2.5 เหนี่ยวนำให้เกิดอนุมูลอิสระมากขึ้นและไปทำลายเซลล์ปอด
2. โลหะหนักทำปฏิกิริยากับน้ำในเซลล์เกิด Hydroxyl radical ซึ่งจะทำลาย DNA ของเซลล์อย่างมากและขัดขวางการซ่อมแซม DNA พร้อมกระตุ้นให้เซลล์ที่มี DNA ผิดเพี้ยนแบ่งเซลล์เพิ่มขึ้น นำไปสู่การกลายพันธุ์เกิดเป็นมะเร็ง
3. ฝุ่น PM2.5 ทำให้ระดับ Ca (แคลเซียม) ภายในเซลล์สูง และระดับ Ca ที่สูงนี้ จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระมากขึ้น นำไปสู่การกระตุ้นการอักเสบและการทำลายของเซลล์มากขึ้น
4. กระตุ้นการหลั่งสารก่อการอักเสบ เพราะฝุ่น PM 2.5 กระตุ้นการทำงานของ Macrophage (แม็คโครเฟจ) ชนิด M1 นำไปสู่การหลั่ง interleukin -12 และ Gramma interferon มากขึ้นนำไปสู่การอักเสบเพิ่มขึ้นในขณะเดียวกันก็จะลดการทำงานของ macrophage ชนิด M2 ซึ่งทำให้ระดับ interleukin-4, IL-10, IL-13 ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดการระดม Neutrophils, T cells, Eosinophils นำไปสู่การหลั่งสารก่อการอักเสบเกิดการทำลายเซลล์ปอด
1. อนุมูลอิสระ โลหะหนัก (เหล็ก, ทองแดง, สังกะสี, แมงกานี) สารประกอบอินทรีย์ สารประกอบ polycyclic aromatic hydrocarbon ในฝุ่น PM2.5 เหนี่ยวนำให้เกิดอนุมูลอิสระมากขึ้นและไปทำลายเซลล์ปอด
2. โลหะหนักทำปฏิกิริยากับน้ำในเซลล์เกิด Hydroxyl radical ซึ่งจะทำลาย DNA ของเซลล์อย่างมากและขัดขวางการซ่อมแซม DNA พร้อมกระตุ้นให้เซลล์ที่มี DNA ผิดเพี้ยนแบ่งเซลล์เพิ่มขึ้น นำไปสู่การกลายพันธุ์เกิดเป็นมะเร็ง
3. ฝุ่น PM2.5 ทำให้ระดับ Ca (แคลเซียม) ภายในเซลล์สูง และระดับ Ca ที่สูงนี้ จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระมากขึ้น นำไปสู่การกระตุ้นการอักเสบและการทำลายของเซลล์มากขึ้น
4. กระตุ้นการหลั่งสารก่อการอักเสบ เพราะฝุ่น PM 2.5 กระตุ้นการทำงานของ Macrophage (แม็คโครเฟจ) ชนิด M1 นำไปสู่การหลั่ง interleukin -12 และ Gramma interferon มากขึ้นนำไปสู่การอักเสบเพิ่มขึ้นในขณะเดียวกันก็จะลดการทำงานของ macrophage ชนิด M2 ซึ่งทำให้ระดับ interleukin-4, IL-10, IL-13 ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดการระดม Neutrophils, T cells, Eosinophils นำไปสู่การหลั่งสารก่อการอักเสบเกิดการทำลายเซลล์ปอด