สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ประเทศไทย อัพเดทรายวัน
Update สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในประเทศไทยรายวัน (กรมควบคุมโรค สธ.)
|
Omicron variants
Omicron (B.1.1.529) Variant ถูกจำแนกได้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2564 ที่ประเทศบอสวานา และ 14 พ.ย. 2564 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ และ 10 วันต่อมา (24 พ.ย. 2564) ประเทศแอฟริกาใต้ได้รายงานองค์การอนามัยโลก ว่าพบ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ใหม่นี้ ซึ่งไม่ได้เป้นลูกหลานของสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่เป็นการวิวัฒนาการของไวรัสเป็นสายพันธุ์ที่ติดง่าย และเพาะบ่มในหลอดลมมากกว่าลงปอด ซ้ำร้ายยังสามารถหลีกหนีภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดีกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อในผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว จะมีอาการแสดงน้อยกว่าผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน และมีรายงานว่า การฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นจะเพิ่มประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรคได้
|
สายพันธุ์ย่อย Omicron
BA.1 เป็นสายพันธุ์ย่อยแรกของ Omicron ที่ระบาดไปทั่วโลก (98.5% of all Omicron sequences) มีการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนกว่า 30 ตำแหน่ง มีทั้งการขาดหายและการเติมเข้าใน gene (deletions and insertions) ของโปรตีนหนาม (Spike protein) ซึ่งการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งนี้ ส่งผลให้ การทำงานของตัวรับของไวรัสในการติดเชื้อเข้าสู่เซลล์ของคน
BA.2 เป็นการกลายพันธุ์ใหม่ที่ต่างจาก BA.1 คือ การที่ไม่ปรากฎ การหายไป (deletion) ของ gene HV69-70 (ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ BA.1) เมื่อ BA.2 ถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างผู้ติดเชื้อจากทั่วโลกแล้วทั้งสิ้น 10,811 ราย (<0.5%) พบในประเทศไทย 2 ราย(1%) กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิมอู๋ฮั่น ประมาณ 70-80 ตำแหน่ง BA.2 นี้บางครั้งถูกเรียกว่า #สายพันธุ์ล่องหน (Stealth Variant)” เพราะสามารถตรวจ RT-PCR ได้ครบทั้ง 3 ยีนเหมือน Delta เนื่องจากสามารถตรวจพบยีน S ใน BA.2 ได้ด้วยชุดตรวจ RT-PCR ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป ทั้งนี้ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ รพ.รามาธิบดี ใช้เทคโนโลยีจีโนไทป์ จึงไม่ประสบปัญหา S target failure (SGTF) สามารถพัฒนาให้ชุดตรวจตรวจจับทั้ง BA.1, BA.2, และ BA.3 และ Delta Alpha Beta Gamma ไปพร้อมกันได้ในหลอดเดียว (single tube reaction) ภายใน 24-48 ชั่วโมง ด้วยค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่า อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนทางคลินิกว่ามีอาการรุนแรงกว่าโอไมครอนสายพันธุ์หลัก BA.1 หรือไม่ แต่คาดคะเนจากข้อมูลทางระบาดวิทยาว่าอาจแพร่ติดต่อได้เร็วกว่า Omicron BA.1 อยู่บ้าง
BA.3 มีการกลายพันธุ์ที่เป็นส่วนที่ร่วมของทั้ง BA.1 และ BA.2 เมื่อ BA.3 ถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างจากทั่วโลกประมาณ 86 ราย (0.5%) ยังไม่พบในประเทศไทย (not detected) กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม อู๋ฮั่น ประมาณ 55-65 ตำแหน่ง
การคัดกรองทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น เพื่อแยกสายพันธุ์ Delta และ Omicron ออกจากกันจะตรวจโดยวิธี RT-PCR 3 ตำแหน่งบน 3 ยีน โดย
1) Delta จะถูกตรวจด้วย RT-PCR ได้ครบทั้ง 3 genes
2) Omicron สายพันธุ์ BA.1 ตรวจด้วยชุดตรวจ RT-PCR ได้เพียง 2 ใน 3 genes เนื่องจากตรวจไม่พบ S gene หรือมี S target failure (SGTF) เนื่องจากมีการกลายพันธุเกิดการขาดหายไปของกรดอะมิโนตำแหน่งที่ 69-70 (del 69-70) บนโปรตีนหนามจนตัวตรวจจับ (PCR primers) จับ S gene ไม่ได้
BA.2 เป็นการกลายพันธุ์ใหม่ที่ต่างจาก BA.1 คือ การที่ไม่ปรากฎ การหายไป (deletion) ของ gene HV69-70 (ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ BA.1) เมื่อ BA.2 ถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างผู้ติดเชื้อจากทั่วโลกแล้วทั้งสิ้น 10,811 ราย (<0.5%) พบในประเทศไทย 2 ราย(1%) กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิมอู๋ฮั่น ประมาณ 70-80 ตำแหน่ง BA.2 นี้บางครั้งถูกเรียกว่า #สายพันธุ์ล่องหน (Stealth Variant)” เพราะสามารถตรวจ RT-PCR ได้ครบทั้ง 3 ยีนเหมือน Delta เนื่องจากสามารถตรวจพบยีน S ใน BA.2 ได้ด้วยชุดตรวจ RT-PCR ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป ทั้งนี้ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ รพ.รามาธิบดี ใช้เทคโนโลยีจีโนไทป์ จึงไม่ประสบปัญหา S target failure (SGTF) สามารถพัฒนาให้ชุดตรวจตรวจจับทั้ง BA.1, BA.2, และ BA.3 และ Delta Alpha Beta Gamma ไปพร้อมกันได้ในหลอดเดียว (single tube reaction) ภายใน 24-48 ชั่วโมง ด้วยค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่า อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนทางคลินิกว่ามีอาการรุนแรงกว่าโอไมครอนสายพันธุ์หลัก BA.1 หรือไม่ แต่คาดคะเนจากข้อมูลทางระบาดวิทยาว่าอาจแพร่ติดต่อได้เร็วกว่า Omicron BA.1 อยู่บ้าง
BA.3 มีการกลายพันธุ์ที่เป็นส่วนที่ร่วมของทั้ง BA.1 และ BA.2 เมื่อ BA.3 ถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างจากทั่วโลกประมาณ 86 ราย (0.5%) ยังไม่พบในประเทศไทย (not detected) กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม อู๋ฮั่น ประมาณ 55-65 ตำแหน่ง
การคัดกรองทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น เพื่อแยกสายพันธุ์ Delta และ Omicron ออกจากกันจะตรวจโดยวิธี RT-PCR 3 ตำแหน่งบน 3 ยีน โดย
1) Delta จะถูกตรวจด้วย RT-PCR ได้ครบทั้ง 3 genes
2) Omicron สายพันธุ์ BA.1 ตรวจด้วยชุดตรวจ RT-PCR ได้เพียง 2 ใน 3 genes เนื่องจากตรวจไม่พบ S gene หรือมี S target failure (SGTF) เนื่องจากมีการกลายพันธุเกิดการขาดหายไปของกรดอะมิโนตำแหน่งที่ 69-70 (del 69-70) บนโปรตีนหนามจนตัวตรวจจับ (PCR primers) จับ S gene ไม่ได้
เมื่อเปรียบเทียบการกลายพันธุ์ของ Omicron กับ สายพันธุ์อื่นๆที่ เป็น VOC/VOI
น่าสนใจตรงที่ VOC/VOI ตัวอื่นๆ จะระบาดเป็นวงกว้างมาทดแทน Omicron ได้น่าจะต้อง
1) หลีกหนีภูมิคุ้มกันให้ได้ดีกว่า Omicron (มีการกลายพันธุ์ของ gene สีฟ้า เกือบครบทุก gene 20+ genes)
2) แพร่เชื้อได้ง่ายกว่า Omicron มากๆ (gene สีเขียว อย่างน้อย 5 genes)
ทั้งนี้ Omicron อาจจะกลายเป็น โรคประจำถิ่น ได้ในอนาคต แต่จะเป็นเช่นนั้น ก็ต่อเมื่อ เราไม่ได้เจอกับสายพันธุ์อื่นที่หลีกเลี่ยงการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของสายพันธุ์ก่อนหน้า ซึ่งจากรูป อาจจะมีความเป็นไปได้ ถ้าไม่มีสายพันธุ์ใดที่มีคุณสมบัติโดดเด่นกว่า Omicron และธรรมชาติได้เลือกสรรแล้ว คงต้องรอติดตามเฝ้าดูกันต่อไป
1) หลีกหนีภูมิคุ้มกันให้ได้ดีกว่า Omicron (มีการกลายพันธุ์ของ gene สีฟ้า เกือบครบทุก gene 20+ genes)
2) แพร่เชื้อได้ง่ายกว่า Omicron มากๆ (gene สีเขียว อย่างน้อย 5 genes)
ทั้งนี้ Omicron อาจจะกลายเป็น โรคประจำถิ่น ได้ในอนาคต แต่จะเป็นเช่นนั้น ก็ต่อเมื่อ เราไม่ได้เจอกับสายพันธุ์อื่นที่หลีกเลี่ยงการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของสายพันธุ์ก่อนหน้า ซึ่งจากรูป อาจจะมีความเป็นไปได้ ถ้าไม่มีสายพันธุ์ใดที่มีคุณสมบัติโดดเด่นกว่า Omicron และธรรมชาติได้เลือกสรรแล้ว คงต้องรอติดตามเฝ้าดูกันต่อไป
ช่องทางการติดตามข้อมูลโควิด 19 และวัคซีน
คำแนะนำ/แนวทางสำคัญที่เกี่ยวข้อง
Bubble & Sealโดย กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
กรมควบคุมโรค สธ. |
5 มาตรการหลัก 10 มาตรการสนับสนุน
เพื่อการป้องกันโควิด
สื่อนำเสนอที่เกี่ยวข้องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
วัคซีนโควิด-19
สูตรการฉีดวัคซีนของประเทศไทย
![]()
|
![]()
|

หนังสือคำแนะนำการฉีดsinovacในเด็ก 6-17 ปี โดยคกก.โรคติดต่อแห่งชาติ | |
File Size: | 602 kb |
File Type: |

แนวทางวัคซีนโควิด Pfizer ฝาสีส้มสำหรับเด็ก5-11 ปี | |
File Size: | 19119 kb |
File Type: |
กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศสูตรวัคซีนที่ถูกรับรองและประกาศใช้เป็นทางการ ตามตามคำแนะนำของคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มติการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ และมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการให้วัคซีนเข็ม 1 & 2 แบ่งตามกลุ่มอายุ และ การฉีดเข็มกระตุ้น (เข็ม 3 และ เข็ม 4) แบ่งตามสูตรที่ได้รับมาก่อน โดยมีระยะห่างระหว่างเข็ม รายละเอียดตามภาพข้างต้น
หมายเหตุ: การฉีดวัคซีนนอกสูตรที่กำหนด ให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เป็น mRNA vaccine ระยะห่าง 3 เดือนขึ้นไปจากเข็มที่ 2
คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ยังได้กำหนดแนวทางการให้วัคซีน Moderna ในประเทศไทย เมื่อ 4 พฤศจิกายน 64 ดังนี้
1. กรณีการฉีดวัคซีน Moderna 2 เข็ม กำหนดให้มีระยะห่าง 4 สัปดาห์
2. สามารถฉีดวัคซีน Moderna เป็นเข็มที่ 2 ของสูตรไขว้ต่างๆ ตามหลักการเดียวกับวัคซีน Pfizer ที่ใช้เป็นเข็มที่ 2 ได้
3. สามารถฉีดวัคซีน Moderna เป็นเข็มกระตุ้น ตามหลักการเดียวกับการใช้วัคซีน Pfizer เป็นเข็มกระตุ้นได้
4. สามารถฉีดวัคซีน Moderna สามารถฉีดเป็นเข็มกระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 ได้ในทุกสูตร
หมายเหตุ: การฉีดวัคซีนนอกสูตรที่กำหนด ให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เป็น mRNA vaccine ระยะห่าง 3 เดือนขึ้นไปจากเข็มที่ 2
คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ยังได้กำหนดแนวทางการให้วัคซีน Moderna ในประเทศไทย เมื่อ 4 พฤศจิกายน 64 ดังนี้
1. กรณีการฉีดวัคซีน Moderna 2 เข็ม กำหนดให้มีระยะห่าง 4 สัปดาห์
2. สามารถฉีดวัคซีน Moderna เป็นเข็มที่ 2 ของสูตรไขว้ต่างๆ ตามหลักการเดียวกับวัคซีน Pfizer ที่ใช้เป็นเข็มที่ 2 ได้
3. สามารถฉีดวัคซีน Moderna เป็นเข็มกระตุ้น ตามหลักการเดียวกับการใช้วัคซีน Pfizer เป็นเข็มกระตุ้นได้
4. สามารถฉีดวัคซีน Moderna สามารถฉีดเป็นเข็มกระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 ได้ในทุกสูตร
![]()
![]()
|
![]()
![]()
|
คำแนะนำ/ แนวทาง/ คู่มือที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|