โรคติดต่อนำโดยยุงลาย
องค์ประกอบสามเส้าของโรคติดต่อนำโดยยุงลาย

โรคติดต่อนำโดยยุงลาย นพ.ภพกฤต | |
File Size: | 13702 kb |
File Type: |
ไข้เลือดออกเดงกีและการคาดการณ์ปี 2566
#โรคไข้เลือดออกในปี2565
ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรค กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค (รายงาน 506) พบว่า
ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 45,145 ราย อัตราป่วย 66.97 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยมากกว่าปีที่ผ่านมา 4.5 เท่า
มีแนวโน้มผู้ป่วยเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และเริ่มสูงกว่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม และสูงลอยต่อเนื่องจนถึงปลายปี
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยเรียนและผู้ใหญ่ตอนต้น ใน
กลุ่มอายุ 5-14 ปีอัตราป่วย 189.80 ต่อประชากรแสนคน
กลุ่มอายุ15 - 24 ปี อัตราป่วย 122.69 ต่อประชากรแสนคน และ
กลุ่มอายุ 0 - 4 ปี อัตราป่วย 84.51 ต่อประชากรแสนคน
จากการเฝ้าระวังไวรัสโรคติดต่อนําโดยยุงลายของกองโรคติดต่อนําโดยยุงลาย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2565 พบว่า มีการหมุนเวียนของสายพันธุ์ไวรัสเดงกีทั้ง 4 ชนิด ในปี พ.ศ. 2565 พบ DENV-1 เป็นชนิดเชื้อไวรัสเด่น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ DENV-2 DENV-3 และ DENV-4 ตามลําดับ โดย DENV-3 มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น 5 – 16 เท่า เมื่อเทียบกับรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
รายงานผู้เสียชีวิตยืนยันสะสม 31 ราย จาก 21 จังหวัด อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.07 เป็นเพศชาย 17 ราย เพศหญิง 14 ราย อายุระหว่าง 6 – 74 ปี (มัธยฐาน 33 ปี) เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี 8 ราย (อัตราป่วยตายร้อยละ 0.05) ผู้ใหญ่อายุ 15 ปีขึ้นไป 23 ราย (อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.08)
ผลการตรวจหาชนิดเชื้อไวรัสเดงกีในผู้เสียชีวิต จํานวน 21 ราย เป็นการติดเชื้อ DENV-1 มากที่สุด จํานวน 9 ราย (ร้อยละ 43)
รองลงมาคือ DENV-2 จํานวน 7 ราย (ร้อยละ 33)
DENV-4 จํานวน 3 ราย (ร้อยละ 14) และ
DENV-3 จํานวน 2 ราย (ร้อยละ 10)
ปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตในเด็ก คือ โรคอ้วน
ปัจจัยเสี่ยงในผู้ใหญ่ คือ
1) มีโรคประจําตัว (เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับตับและไต ภาวะติดสุราเรื้อรัง เป็นต้น)
2) ได้รับยาประเภท NSAIDs (เช่น ยาชุด ยาไอบรูโพรเฟ่น) จากการซื้อเองหรือได้รับจากคลินิก/โรงพยาบาลเอกชน และ
3) การไปรักษาที่โรงพยาบาลช้าโดยส่วนใหญ่เมื่อป่วยแล้ว 3 วันถึงไปรับการรักษาครั้งแรก และสูงสุดอยู่ที่ 8 วัน
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทําให้ผู้ใหญ่ มีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กและทําให้การรักษาทําได้ยาก จึงมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าเด็ก 2 – 3 เท่า
#การคาดการณ์ในปี2566
1. มีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากกว่าปี พ.ศ. 2565 เนื่องจากอาจมีการระบาดต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมา
2. มีการเปลี่ยนแปลงชนิดไวรัสเดงกี โดยพบ DENV-3 เพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่อาจไม่มีภูมิคุ้มกัน
3. พยากรณ์ว่าจะมีรายงานผู้ป่วยตลอดทั้งปีประมาณ 93,394 ราย และหากไม่สามารถดําเนินการมาตรการควบคุมโรคได้ตามมาตรฐาน อาจพบผู้ป่วยสูงถึง140,091 ราย และมีโอกาสพบผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้น
4. ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ (อายุ 35 ปีขึ้นไป) มีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้น เนื่องจากส่วนใหญ่มีโรคประจําตัวเรื้อรัง รวมทั้งผู้ใหญ่มักไปรักษาที่คลินิกและซื้อยารับประทานเองและไปรักษาที่โรงพยาบาลช้า ทําให้มีอาการรุนแรงและรักษายาก
5. พื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดโรคไข้เลือดออก 247 อําเภอ ใน 77 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นอําเภอเมืองและอําเภอที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกซ้ำซาก
#ที่มาข้อมูลระบาด กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรม คร.
ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรค กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค (รายงาน 506) พบว่า
ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 45,145 ราย อัตราป่วย 66.97 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยมากกว่าปีที่ผ่านมา 4.5 เท่า
มีแนวโน้มผู้ป่วยเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และเริ่มสูงกว่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม และสูงลอยต่อเนื่องจนถึงปลายปี
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยเรียนและผู้ใหญ่ตอนต้น ใน
กลุ่มอายุ 5-14 ปีอัตราป่วย 189.80 ต่อประชากรแสนคน
กลุ่มอายุ15 - 24 ปี อัตราป่วย 122.69 ต่อประชากรแสนคน และ
กลุ่มอายุ 0 - 4 ปี อัตราป่วย 84.51 ต่อประชากรแสนคน
จากการเฝ้าระวังไวรัสโรคติดต่อนําโดยยุงลายของกองโรคติดต่อนําโดยยุงลาย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2565 พบว่า มีการหมุนเวียนของสายพันธุ์ไวรัสเดงกีทั้ง 4 ชนิด ในปี พ.ศ. 2565 พบ DENV-1 เป็นชนิดเชื้อไวรัสเด่น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ DENV-2 DENV-3 และ DENV-4 ตามลําดับ โดย DENV-3 มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น 5 – 16 เท่า เมื่อเทียบกับรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
รายงานผู้เสียชีวิตยืนยันสะสม 31 ราย จาก 21 จังหวัด อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.07 เป็นเพศชาย 17 ราย เพศหญิง 14 ราย อายุระหว่าง 6 – 74 ปี (มัธยฐาน 33 ปี) เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี 8 ราย (อัตราป่วยตายร้อยละ 0.05) ผู้ใหญ่อายุ 15 ปีขึ้นไป 23 ราย (อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.08)
ผลการตรวจหาชนิดเชื้อไวรัสเดงกีในผู้เสียชีวิต จํานวน 21 ราย เป็นการติดเชื้อ DENV-1 มากที่สุด จํานวน 9 ราย (ร้อยละ 43)
รองลงมาคือ DENV-2 จํานวน 7 ราย (ร้อยละ 33)
DENV-4 จํานวน 3 ราย (ร้อยละ 14) และ
DENV-3 จํานวน 2 ราย (ร้อยละ 10)
ปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตในเด็ก คือ โรคอ้วน
ปัจจัยเสี่ยงในผู้ใหญ่ คือ
1) มีโรคประจําตัว (เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับตับและไต ภาวะติดสุราเรื้อรัง เป็นต้น)
2) ได้รับยาประเภท NSAIDs (เช่น ยาชุด ยาไอบรูโพรเฟ่น) จากการซื้อเองหรือได้รับจากคลินิก/โรงพยาบาลเอกชน และ
3) การไปรักษาที่โรงพยาบาลช้าโดยส่วนใหญ่เมื่อป่วยแล้ว 3 วันถึงไปรับการรักษาครั้งแรก และสูงสุดอยู่ที่ 8 วัน
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทําให้ผู้ใหญ่ มีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กและทําให้การรักษาทําได้ยาก จึงมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าเด็ก 2 – 3 เท่า
#การคาดการณ์ในปี2566
1. มีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากกว่าปี พ.ศ. 2565 เนื่องจากอาจมีการระบาดต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมา
2. มีการเปลี่ยนแปลงชนิดไวรัสเดงกี โดยพบ DENV-3 เพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่อาจไม่มีภูมิคุ้มกัน
3. พยากรณ์ว่าจะมีรายงานผู้ป่วยตลอดทั้งปีประมาณ 93,394 ราย และหากไม่สามารถดําเนินการมาตรการควบคุมโรคได้ตามมาตรฐาน อาจพบผู้ป่วยสูงถึง140,091 ราย และมีโอกาสพบผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้น
4. ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ (อายุ 35 ปีขึ้นไป) มีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้น เนื่องจากส่วนใหญ่มีโรคประจําตัวเรื้อรัง รวมทั้งผู้ใหญ่มักไปรักษาที่คลินิกและซื้อยารับประทานเองและไปรักษาที่โรงพยาบาลช้า ทําให้มีอาการรุนแรงและรักษายาก
5. พื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดโรคไข้เลือดออก 247 อําเภอ ใน 77 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นอําเภอเมืองและอําเภอที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกซ้ำซาก
#ที่มาข้อมูลระบาด กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรม คร.
Infographic
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
![]()
|
ยุงไม่ได้บินแค่ 100 เมตร!
การกำหนดในแนวทางว่า ให้ดำเนินการควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลายในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วยนั้น เป็นการกำหนดตัวเลข 100 เมตร เพื่อการบริหารจัดการเตรียมคนและของในการควบคุมโรคเท่านั้น ไม่ใช่หมายความว่า ยุงจะบินหรืออยากบิน 100 เมตร ทั้งนี้ สามารถกำหนดตัวเลขนี้ให้สูง หรือ ต่ำกว่า 100 เมตรได้ ขึ้นกับ ทรัพยากรและเวลาที่ทีมควบคุมโรคจะดำเนินการได้
![]()
|
![]()
|

แบบสอบสวนโรคติดต่อนำโดยแมลง | |
File Size: | 423 kb |
File Type: |